Menu
A-Z
Search
  • BLOG
    • LECTURER’S BLOG
    • STUDENT’S BLOG
    • GUEST’S BLOG
BLOG |
ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม

ทุกคำอธิบายเต็มไปด้วยความหมายที่ซับซ้อนมาก ทุกนัยล้วนน่าค้นหา รากทางวัฒนธรรมไทยมีความลุ่มลึกขนาดนี้เลยรึ?

หลายคนคงเคยได้ยินทั้งคำว่า อาจารย์ หรือคำว่าครู ในวันนี้อยากพาทุกคนมาพบกับครูของครู สถาปนิกงานสถาปัตยกรรมไทยชั้นครู ซึ่งคำว่าครูในที่นี้ ตัวผมเองสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของครูท่านนี้จริง ๆ

ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล

 

ถ้าพูดถึงงานสถาปัตยกรรมไทย ทุกคนคงคุ้นเคยว่าคือ บ้าน วัด วัง แต่เบื้องหลังสิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าดังกล่าว วันนี้อยากพาทุกคนมาพูดคุยบรรยากาศสบาย ๆ กับครูผู้สอนสิ่งเหล่านี้กันครับ

 

 

รบกวนครูเล่าเรื่องสมัยก่อนให้ฟังได้มั้ยครับ

ครูเข้ามาเรียนที่นี่ตอนปี พ.ศ. 2520 จบปี 2525 ตอนนั้นยังเป็นหลักสูตรสถาปัตยกรรมแบบสากลซึ่งเป็นสาขาเดียวของคณะ ยังไม่มีสาขาสถาปัตยกรรมไทย พอเรียบจบแล้วก็ไปทำงานออกแบบที่ office ของอาจารย์สมมา เวสารัชชานนท์ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนคณะนี้ ตอนนั้นกำลังออกแบบศูนย์การค้าใหญ่แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ช่วยทำประมาณ 6 เดือน

 

พอดี พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์ ประธานจัดทำหนังสือ “พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม” ของราชบัณฑิตยสถาน กำลังอยากได้คนที่พอรู้เรื่องศิลปกรรมไทยมาช่วย อ.เสนอ นิลเดชเลยแนะนำให้ครูไปสมัคร ซึ่งประสบการณ์สำคัญที่ครูได้จากที่นี่ก็คือการเขียนหนังสือ

 

แต่ส่วนที่ขาดหายไป คือการออกแบบงานสถาปัตยกรรม เพราะใจจริงแล้วครูอยากทำงานที่กรมศิลปากร แต่ไม่มีอัตรารับ เลยทนรออยู่ที่ราชบัณฑิตยสถานนี้ถึง 6 ปีเต็ม ก่อนคิดเปลี่ยนอาชีพใหม่ และด้วยความที่ชอบศิลปะไทย ชอบดูโบราณสถาน จึงคิดว่าน่าจะไปอยู่ที่ ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) เผื่อมีโอกาสได้ไปเที่ยวดูงานต่างประเทศด้วย ก็ลองไปสมัครแต่ไม่มีอัตราว่างเหมือนกัน

 

อาจารย์เสนอ ท่านเลยแนะนำให้ไปสมัครกับบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีลูกศิษย์ทำอยู่ แต่ก็ถูกปฏิเสธอีก เลยลองเปลี่ยนไปหาทางเป็นอาจารย์ที่ต่าง ๆ แทน สมัครถึง 3 แห่งก็ไม่มีที่ไหนรับ ตอนนั้นท้อใจมาก แต่ปรากฏว่าอยู่ ๆ ที่คณะเกิดมีอัตราว่างขึ้นมา 1 ตำแหน่ง อ.เสนอ ท่านรีบให้คนมาตามไปสมัคร ซึ่งช่วงเวลานั้นสถาปนิกส่วนใหญ่ไม่นิยมทำราชการกัน เลยมีครูสมัครแค่คนเดียว ผลคือตอนแรกก็ยังไม่ได้อีกเพราะมีเรื่องติดขัดสารพัดปัญหา ทำเอาหมดกำลังใจไปเลย จนเลิกคิดจะย้ายไปไหนแล้ว

 

สุดท้ายเหมือนชะตาถูกกำหนดให้ต้องมาอยู่ที่ศิลปากรนี่ เพราะทั้ง อาจารย์เสนอ นิลเดช และ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ได้ช่วยกันแก้ไขสารพัดอุปสรรคจนลุล่วงไป ก็เลยมีโอกาสเข้ามาสอนที่คณะสถาปัตย์ฯ แห่งนี้ในสังกัดภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม โดยรับมอบหมายให้ช่วยสอนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมไทยและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยร่วมกับ อาจารย์เสนอ และ อาจารย์วนิดา นี่แหละ

 

ครูเริ่มชอบหรือศึกษางานทางด้านสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่เมื่อไรครับ

จำได้ว่าตั้งแต่ปีหนึ่งเลย ตอนเข้าเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป “ศิลปะวิจักษ์” กับ อาจารย์ มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ท่านเอาสไลด์เกี่ยวกับศิลปะของอินเดีย ลังกา เขมร ชวา และไทย มาฉายให้ดู ความที่เป็นเด็กบ้านนอกเข้ากรุง ตอนนั้นดูแล้วตื่นเต้นมาก เพราะมันเป็นอะไรที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นความงดงามที่แปลกตาแบบนี้มาก่อน กับอีกส่วนหนึ่งครูว่าน่าจะมีผลจากบริบทภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยศิลปากรเอง ที่มีมนต์พิเศษไม่เหมือนใคร ตรงที่เป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนานภายใต้บรรยากาศแวดล้อมด้วยศิลปกรรมขั้นสูง ซึ่งก่อนหน้านั้นตอนที่ครูมาติวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ยังสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายที่ว่านี้อย่างจับใจ จนตั้งเป้าตอนนั้นเลยว่าจะเลือกเข้าสถาปัตย์ของที่นี่ที่เดียว

 

ยิ่งพอมาขึ้นปี 2 เจอบรมครูอย่างอาจารย์เสนอ ที่มีความรู้ลึกซึ้งทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมไทยแทบทุกแขนง อาจารย์สอนเก่งมาก เวลาสอนจะสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจไปหมด วาดรูปก็เก่ง สเก๊ตซ์เร็วแล้วก็แม่นยำ อย่าง โบสถ์-ปรางค์-เจดีย์แต่ละสมัยงี้ เขียนปั๊บเข้าใจชัดเจนเลย

 

ยิ่งทีเด็ดตอนเขียนกระดานดำ คือ ใช้ทั้งสองมือพร้อมกัน มือซ้ายวาดรูป มือขวาเขียนคำอธิบาย เห็นแล้วทึ่งมาก เลยทำให้ครูประทับใจและเทใจที่อยากเรียนสถาปัตย์ไทยตั้งแต่นั้นมา

 

ที่สำคัญคือในใจลึก ๆ นึกอยากเก่งแบบอาจารย์บ้าง

 

พอเริ่มสนใจทางด้านสถาปัตยกรรมไทยแล้วครูศึกษาเพิ่มเติมอย่างไรครับ

พอว่าง ๆ ไม่มีอะไรทำ ครูก็มามักไปหา อาจารย์เสนอ อาจารย์วนิดา ถามโน่นถามนี่เรื่อยเปื่อย ยิ่งถามก็ยิ่งรู้ ยิ่งรู้ก็ยิ่งอยากรู้มากขึ้นอีก อาจารย์ก็อธิบายให้ฟัง ค้นรูป หรือ slide ให้ดู บางครั้งเอาหนังสือให้อ่านเพิ่ม

 

อย่างอาจารย์เสนอ เนี่ยที่จริงท่านจบโบราณคดีมา ตอนนั้นยังแข็งแรง ชอบไปดูและสะสมของเก่า ครูเลยขอตามไปด้วย อาจารย์บอกว่าดีแล้วจะได้เห็นตัวชิ้นงานจริง ๆ เวลาไปครูต้องทำหน้าที่ถือกระเป๋าและหิ้วของให้ ตอนนั้นไปทั้งที่ริเวอร์ซิตี้และร้านของเก่าดัง ๆ ทำให้ได้สัมผัสกับศิลปกรรมไทยเกือบทุกด้าน ได้เห็นทั้งงานประณีตศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรมชิ้นดี ๆ

 

อาจารย์เสนอมีวิธีการสอนอย่างไรครับครู

ที่สำคัญคือเวลาดูของเก่าอาจารย์ก็จะคอยชี้ให้ดูว่าอันนั้นคืออะไร? อันนี้คืออะไร? อย่างนี่เป็นศิลปะแบบสมัยทวารวดีนะ พระพุทธรูปทวารวดีเนี่ยมันเป็นยังไง? อย่างไร? ปากหนา ๆ ตาโปน ๆ คิ้วโก่งงอเป็นปีกกา เธอดูองค์นี้เป็นแบบลพบุรี ลักษณะดูเข้มแข็งดุดัน สมัยอู่ทองต้องมีไรพระศก เม็ดพระศกเล็กแหลม หน้าแข้งคมเป็นสัน แล้วนี่สมัยเชียงแสนรูปร่างอวบอ้วน วงแขนกางออก ปลายนิ้วกระดกขึ้นเห็นไหม? อะไรแบบนี้เยอะไปหมด แล้วหันมาถามครูว่าเธอว่าแบบไหนสวย? ดูให้ดีสิ พอบอกสุโขทัยสวย อาจารย์บอก “โง่” สวยทุกองค์ทุกสมัย ถ้าไม่สวยเขาจะสร้างเหรอ? ความสวยไม่ได้อยู่ที่เส้นสายที่เอาตากะใจเราไปวัด แต่มันอยู่ที่ความงดงามของมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาให้รับรู้ต่างหาก ทุกรูปแบบจึงมีคุณค่าในแง่ที่เป็นเรื่องบอกเล่าทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นว่า สภาวะของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศาสนาเป็นยังไง? เพราะอะไร? อย่างพระพุทธรูปของไทยทำไมบางยุคสมัยนิยมแบบทรงเครื่อง พระเศียรสวมมงกุฎ? ดูแล้วจะบอกว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้โกนผมออกบวชได้อย่างไร? มันเป็นมิติทางวัฒนธรรมของสังคม ที่มีคติความเชื่อเรื่องพุทธาวตารและเทวาวตารร่วมกันบนจินตภาพของความเป็นกษัตริย์ไทย อันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวโยงกับอุดมคติในเชิงจักรพรรดิราชร่วมกับบทบาทของความเป็นธรรมราชา

 

ครูฟังแล้วกระเจิงเลย มีความรู้สึกว่า โอโห! ทุกคำอธิบายเต็มไปด้วยความหมายที่ซับซ้อนมาก ทุกนัยล้วนน่าค้นหา รากทางวัฒนธรรมไทยมีความลุ่มลึกขนาดนี้เลยรึ?

 

ทุกอย่างที่ได้มาเห็นจึงเป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือไปจากที่เรียนในชั้นทั้งนั้น ก็เลยยิ่งชอบไปกันใหญ่ แล้วก็บ่อยครั้งที่ครูศิษย์ 3 คนจะนั่งรถออกไปต่างจังหวัดกัน โดยมีอาจารย์วนิดา เป็นคนขับ เพื่อไปถ่ายรูปและเก็บข้อมูลโบราณสถานภาคสนามด้าน “สถาปัตยกรรมไทย” ซึ่งก็ถือเป็นประสบการณ์สำคัญสำหรับครูในการได้เรียนรู้ความหลากหลายของศิลปกรรมไทยอีกแขนงเพิ่มอย่างมาก ทั้งในเชิงรูปแบบ โครงสร้าง และองค์ประกอบต่าง ๆ

 

ตอนนั้นอาจารย์เสนอให้ครูฝึกและสร้างประสบการณ์ในการออกแบบอย่างไรบ้างครับ

นอกจากอาจารย์จะสอนแบบชี้แนะโดยตรงแล้ว บางครั้งยังแอบใช้วิธีให้ความรู้อย่างโบราณด้วย คือให้โจทย์แล้วไปศึกษาและสร้างความเข้าใจกับสิ่งนั้น ๆ ด้วยตัวเอง อย่างมีอยู่วันนึงอยู่ ๆ อาจารย์ก็มาบอกว่า “ฉันอยากได้แบบสถาปัตย์ของพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศนัย เธอไป measure ให้ฉันหน่อย” พระที่นั่งองค์นี้น่าสนใจตรงที่เป็นอาคารหลังเล็ก ๆ แต่ฝีมือระดับช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งครูก็ไปรังวัดคนเดียว เลยทำให้ต้องไปทำความรู้จักและเข้าใจกับองค์ประกอบของตัวไม้ทุกชิ้นด้วยตัวเอง ทั้งตำแหน่งที่ตั้ง วิธีการประกอบ บทบาทหน้าที่ ความสัมพันธ์กับองค์ประกอบตัวอื่น ๆ แล้วยังต้องอาศัยวิธีเขียน Isometric สำหรับเช็คความเข้าใจของตัวเองตลอดแทบทุกจุด ว่ามันเข้าไม้กันอย่างนี้จริงมั้ย มันเจอกันแบบนี้จริงมั้ย แต่ทั้งหมดนั้นถือเป็นองค์ความรู้ครั้งสำคัญที่ครูได้มา จนทำให้ครูสามารถใช้ต่อยอดความคิดในการทำงานด้านสถาปัตยกรรมไทยได้

 

ดังนั้นจะว่าไปแล้วการมีครูที่ดีและวิเศษอย่าง อาจารย์เสนอ อาจารย์วนิดา รวมทั้งครูอาจารย์ทุกท่านในคณะที่สอนสั่งมา ล้วนสร้างให้ครูมีฐานความรู้มากพอที่จะส่งต่อให้นักศึกษารุ่นถัด ๆ มาได้จนบัดนี้

ส่วนประสบการณ์ในการออกแบบขณะที่เรียน ก็เวลานั้นเมืองไทยยังเน้นงานออกแบบก่อสร้างที่เป็นแบบสมัยใหม่อยู่ นักศึกษาส่วนใหญ่เลยเน้นหาประสบการณ์ในการฝึกมือทางด้านนี้เกือบทั้งนั้น ครูเองอยากทำทั้งทางไทยและทางสมัยใหม่ แต่ทางไทยหาทำได้ยากมาก จะมีโอกาสอยู่บ้างก็จากอาจารย์เสนอที่ให้ช่วยทำโน่นนิดนี่หน่อย อย่างเช่น อาจารย์ต้องเตรียมสอน ก็ให้ช่วยเขียนแบบเจดีย์หรือปรางค์ให้ หรือถ้าต้องไปพูดสัมมนา อย่างเช่น ตอนไปพิษณุโลก ก็ให้ช่วยเขียนผังวัด อาคารวิหารพระพุทธชินราช อะไรพวกนี้ เขียนเสร็จเอาให้ดู ถ้ามีผิดหรือเพี้ยนไปตรงนั้นตรงนี้ก็จะแก้ให้ เราเลยเหมือนค่อย ๆ ได้เพิ่มทักษะในมิติทางสถาปัตยกรรมไทยขึ้นบ้าง แม้จะดูไม่ต่อเนื่อง ขาด ๆ เกิน ๆ

 

ครูช่วยเล่าถึงประสบการณ์การออกแบบ ที่อาจารย์เสนอ และอาจารย์วนิดาสอนให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ

ครั้งที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อครูมากที่สุดก็คือตอนอยู่ปีสาม อาจารย์เอางานเรือนไทยล้านนาที่จะสร้างจริงมาให้ครูเขียน ครูตกใจ บอกไม่เอา ไม่กล้าเขียน เพราะตอนนั้นเพิ่งเริ่มเรียนเรือนไทยใหม่ ๆ พอดีอาจารย์วนิดานั่งอยู่ด้วย ท่านบอกว่า “สมคิดต้องฝึกทำ ไม่เป็นไร ครูอยู่ ไม่ได้ตรงไหนมาถามครูได้” ครูก็เลยรู้สึกว่าเมื่อมีครูอาจารย์ช่วยหนุนขนาดนี้แล้ว ไม่เห็นต้องกลัวอะไรอีก? เอาก็เอาว่ะ เลยรับเขียนให้ อาจารย์เสนอส่งสเก็ตซ์มาว่าจะเอาขนาดเท่านี้ มีพื้นที่ใช้สอยส่วนนั้นส่วนนี้ มีรายละเอียดยังไง? ครูก็รับช่วงเขียนแบบสถาปัตย์ต่อ

จำได้เลยพอเขียนเสร็จ เอาไปให้อาจารย์ตรวจ ได้ยินอาจารย์พึมพำว่าไม่เอาไหน ใช้ไม่ได้ ท่วงทีของ proportions ยังไม่เป็นเหนือ ว่าแล้วก็หยิบดินสอมาขีด ๆ ให้ พอครูลองเอา scale วัดดู ระยะงี้ลงเป๊ะเลย อาจารย์เสนอนี้แม้จะไม่ได้เรียนสถาปัตย์มา แต่ด้วยความที่ท่านชอบและแม่นยำในทางวาดรูป รวมทั้งมีฐานความรู้ทางศิลปะสถาปัตย์ฯ ประกอบกับประสบการณ์ทำงานจริงที่กรมศิลปากรมาก่อน ครูว่าทำให้อาจารย์เป็นยิ่งกว่าสถาปนิก คือ ไม่เพียงมีความเข้าใจในศาสตร์และศิลป์ทางสถาปัตย์ไทย ทั้งมีฝีมือทางการขีดเขียนเส้นสายอย่างดีแล้ว ยังมีสายตาที่แม่นยำในการมองมิติของสัดส่วนอย่างมากด้วย (อาจารย์เรียนที่คณะจิตรกรรม 2 ปี ก่อนย้ายไปเรียนต่อที่คณะโบราณคดีจนจบปริญญาตรี แล้วจึงมาต่อทางสถาปัตยกรรมไทยขั้นสูงที่คณะสถาปัตย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกสาย) ทำให้ไม่แปลกใจว่าเวลาจะไปไหนกับอาจารย์ อย่างไปดูโบราณสถานกัน ก็จะได้รับสาระความรู้ทั้งในมิติทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ความงดงามของศิลปะประดับตกแต่ง ความเข้าใจในเชิงรูปแบบและสัดส่วนทางสถาปัตยกรรม โดยมักอธิบายให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจน

อย่างคำพูดที่ว่าเธอดูนะเห็นไหม? เส้นทรงองค์นี้มัน “ชม้อย” พอเหมาะ, หรือหลังคาดู “แจ้” มาก, หรือช่วงเรือนมัน “ผาย” เกิน, หรือตรงบ่าดู “ลู่” ไปหน่อย ฯลฯ อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นศัพท์แบบคำไทยโบราณที่อาจารย์มักใช้กำกับเวลาอธิบาย จนครูจำเป็นจินตภาพได้อย่างติดหูติดตามาถึงทุกวันนี้

 

อุปกรณ์ที่ติดตัวอาจารย์เสมอคืออะไรครับ

สำหรับตัวครูแล้ว น่าจะได้ตรงเชิงสายตาในการมองสัดส่วน ซึ่งรับตกทอดจากอาจารย์เสนอ แต่ไม่แม่นยำเท่าอาจารย์ และไม่มีสูตรตายตัวเหมือนอาจารย์

อย่างตอนนี้ลูกศิษย์ที่เห็นงานออกแบบของครู ชอบถามว่าทำไมหลังคาทรงแบบนี้ ใช้สัดส่วนยังไง? ครูบอกไม่รู้ครูชอบของครูอย่างนี้ เพราะไม่ได้ค้นคว้าเรื่องระเบียบกฏเกณฑ์มาอย่างจริงจัง ใช้แค่วิธีดูเอา เข้าใจเอาง่าย ๆ แล้วก็ตัดสินใจตามที่เห็นว่าดี

คงเพราะจำวิธีดูมาจากที่อาจารย์เสนอชี้แนะว่า อย่างนี้ชะลูดไป อย่างนี้ค่อมไป ตรงนี้เกร็งไป อะไรทำนองนี้ รวมถึงความรู้ความเข้าใจทางการรับรู้ในการออกแบบและจัดวาง อย่างเช่น อาจารย์อธิบายว่าทำไมพระพุทธรูปองค์นี้ต้องนั่งเอนหน้าเข้ามา ก็เพราะเวลาวางตั้งในที่สูงแล้ว มุมมองที่ย้อนขึ้นจะช่วยผลักให้ท่านดูนั่งตรง ไม่ล้มเอนไปข้างหลังนั่นเอง ฯลฯ

โดยเฉพาะประสบการณ์สำคัญที่จำจนตายก็คือ ตอนครูช่วยเขียนแบบสถาปัตย์ของโบสถ์วัดสะแล่ง ที่จังหวัดแพร่ อาจารย์ย้ำตลอดว่าเธออย่าทำฐานเตี้ยนะ ครูก็รับรองว่าไม่เตี้ยแน่นอนครับ พอแบบเสร็จเอาไปให้ดู เท่านั้นเองได้รับคำสรรเสริญออกมาชุดใหญ่ว่า เธอนี่ “หยิ่ง ดื้อ โง่ บ้า อวดดี” มีครบ คิดว่าพอเป็นสถาปนิกแล้ว ไม่ต้องฟังฉันรึไง? เก่งเป็นเทวดาแล้วใช่ไหม? ครูงี้ต้องรีบหาวิธีแก้ในบัดดล ด้วยวิธีกดพื้นทางเดินลงเพื่อเสริมฐานให้สูงได้มากขึ้นกว่าเดิม พองานสร้างเสร็จยอมรับเลยว่าสัดส่วนมัน “แฉล้ม” พอดีเป๊ะอย่างที่อาจารย์เตือนไว้ก่อนจริง ๆ

 

อยากฝากอะไรถึงลูกศิษย์บ้างครับครู

การจะเรียนด้านสถาปัตยกรรมไทย สำหรับครูเองสิ่งสำคัญที่สุด คิดว่านอกจากทักษะทางการฝึกมือให้ช่ำชองแล้ว องค์ความรู้ทาง “ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม” ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะประวัติศาสตร์คือคลังความรู้ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของอดีตอย่างที่ว่ามาแล้ว เพื่อให้รู้ว่า ณ เวลานั้นเขาคิดอะไรกัน? คิดต่ออย่างไร? และมีอะไรเป็นต้นคิด? แล้วอะไรคือเหตุปัจจัยหลักทางความคิดนั้น? หรืออะไรมีบทบาทในเชิงอิทธิพลต่อบริบททางสังคม การเมือง หรือวัฒนธรรม จนก่อเกิดเป็นการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมชิ้นนั้นๆขึ้นมา

 

แต่ครูสังเกตว่าปัจจุบันนักศึกษาสถาปัตยกรรมเองกลับให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้น้อยลง หรือพูดได้ว่ากำลังละทิ้งไปด้วยซ้ำ ซึ่งส่งผลชัดเจนตรงที่พอจะลงมือออกแบบเลยไม่รู้ว่าต้องเอาอะไรมาใช้เป็นต้นคิด

 

จึงอยากเตือนให้ลูกศิษย์รุ่นหลัง ๆ ได้หันมาตระหนักสิ่งที่ว่านี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ ต้องรวมไปถึงความตั้งใจที่จะเรียนรู้รายวิชาอื่น ๆ ทั้งหมดประกอบกันเป็นองค์รวมด้วย พร้อมกันนี้ก็อยากฝากให้ลูกศิษย์ที่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ลองมองหาเส้นทางสายใหม่สำหรับนำมาใช้กับการเรียนการสอนในสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพื่อว่าทั้งลูกศิษย์กับอาจารย์จะได้เดินร่วมกันไปบนวิถีใหม่ที่เหมาะสมกับปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ เพราะครูคิดว่าลูกศิษย์ทุกคนโชคดีมากที่นอกจากจะได้มาอยู่ในสถานศึกษาที่ดี มีบริบทแวดล้อมที่ช่วยหลอมรวมความรู้สึกทางใจที่ดีแล้ว

 

ถ้ายิ่งมีครูอาจารย์ที่เป็นทั้งต้นแบบอย่างดีและเอื้อหนุนให้นักศึกษามีรากฐานของกรอบความรู้ที่แข็งแรงในระดับหนึ่งด้วยแล้ว ก็ย่อมทำให้องค์ความรู้ในการใช้ประกอบวิชาชีพสายนี้เป็นไปอย่างมั่นคงและทรงคุณค่าด้วยหลักวิชาอันสมบูรณ์

 

#archsu,#silpakorn,#สถาปัตยกรรมไทย,#สถาปัตย์ไทย,#สถาปัตย์ไทยศิลปากร,#สถไทย
ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล

ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม

Copyright © Faculty of Architecture,
Silpakorn University. All rights reserved.

Book shop
souvenir
Donate
BOOKING CLASSROOM
Documents
FAQ
CONTACT US
SUBMIT A COMPLAINT

Copyright © Faculty of Architecture,
Silpakorn University. All rights reserved.

Books shop
SOUVENIR
Donate
BOOKING CLASSROOM
Documents
FAQ
Contact us
SUBMIT A COMPLAINT
Book shop
Documents
BOOKING CLASSROOM
souvenir
FAQ
SUBMIT A COMPLAINT
Donate
Contact us

Copyright © Faculty of Architecture,Silpakorn University. All rights reserved.

Close Search
PROGRAMS

UNDERGRADUATE

ARCHITECTURE

THAI ARCHITECTURE

MASTER’S DEGREE

ARCHITECTURE

THAI ARCHITECTURE

VERNACULAR ARCHITECTURE

        HISTORY OF ARCHITECTURE

CONSTRUCTION PROJECT MANAGEMENT

COMPUTER AIDED ARCHITECTURE DESIGN

URBAN DESIGN ARCHITECTURE

LANDSCAPE ARCHITECTURE

URBAN AND ENVIRONMENTAL PLANNING

DOCTORAL DEGREE

ARCHITECTURE

VERNACULAR ARCHITECTURE

HISTORY OF ARCHITECTURE

INTERNATIONAL PROGRAM

M.A. ARCHITECTURE HERITAGE MANAGEMENT AND TOURISM

PH.D. ARCHITECTURE HERITAGE MANAGEMENT AND TOURISM

SHORT COURSE

SURE

CAD

FACULTY

LECTURERS

ARCHITECTURE

ARCHITECTURE AND RELATED ARTS

ARCHTECTURAL TECHNOLOGY

URBAN DESIGN AND PLANNING

        LANDSCAPE ARCHITECTURE

ARCHITECTURAL  HERITAGE MANAGEMENT AND  TOURISM

     VISITING LECTURERS

     HALL OF FAME

     STAFF

RESOURCE CENTER

ACADEMIC SERVICE CENTER

CITY LAB

VERNACULAR BUILT ENVIRONMENT AND CULTURAL HERITAGE STUDIES

SPACE SYTAX LAB

ENERGY CONSERVATION LAB

COMPUTER LAB

DIGITAL FABRICATION LAB

THAI ARCH. INFO. CENTER

ARCH LIBRARY

PHRA PROMBHIJITR

FACILITIES

WORKS

UNDERGRAD STUDENT’S WORKS

              – ARCHITECTURE

              – THAI ARCHITECTURE

GRAD STUDENT’S WORKS

PH.D STUDENT’S WORKS

RESEARCH

PUBLICATIONS

AWARDS

NEWS & EVENTS

NEWS

EVENTS

ABOUT

ABOUT

EXECUTIVE BOARD

​CAMPUS LIFE

VIRTUAL CAMPUS

CONTACT US

JOIN THE MAILING LIST

ADMISSIONS

HOW TO APPLY UNDERGRAD

HOW TO APPLY GRAD

TUITION

SCHOLARSHIP / FUNDS

FAQ

DOWNLOAD

ALUMNI

ALUMNI ASSOCIATION

ALUMNI NEWS

ALUMNI WORKS

BLOG

LECTURER’S BLOG

STUDENT’S BLOG

GUEST’S BLOG

Close Menu
Programs
Bachelor of Architecture Program in Architecture
Bachelor of Architecture Program in Thai Architecture
Master of Architecture Program in Architecture
Master of Architecture Program in Thai Architecture
Master of Arts Program in Vernacular Architecture
Master of Arts Program in History of Architecture
MORE

Master of Science Program in Construction Project Management

Master of Science Program in Computer-aided Architectural Design

Master of Architecture (Urban Design) Program

Master of Landscape Architecture Program

Master of Urban and Environmental Planning Program

Doctor of Philosophy Program in Architecture

Doctor of Philosophy Program in Vernacular Architecture

Doctor of Philosophy Program in History of Architecture

Master of arts Architectural Heritage Management and Tourism

Doctor of Philosophy Program in Architectural Heritage Management and Tourism 

Faculty
Architecture​
Architecture and Related Arts
Architectural Technology
Urban Design and Planning
Landscape Architecture
Visiting lecturers
Hall of fame
Staff
RESOURCES
Academic service center
City lab
Vernacular research lab
Space syntax lab
Energy conservation lab
MORE

Computer lab

Digital Fabrication Lab

Thai Arch. Info. Center

Arch Library

PIJITRA Gallery

Facilities

WORKS
Undergrad student’s work
Grad student’s works
Ph.d student’s works
Research
Publications
Awards
NEWS & EVENTS
News
Events
ABOUT
About arch.su
Executive board
Advisory board
Campus life
Virtual campus
Contact us
Join the mailing list
ADMISSIONS
How to apply – undergrad
How to apply – grad
Tuition
Scholarship-funds
Faq
Download – เอกสารสำหรับนักศึกษาใหม่
ALUMNI
Alumni association
Alumni news
Alumni works
BLOG
Lecturers
Student
Guest
Close A-Z
SITE INDEX
  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • J
  • K
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • Y
  • Z
  • #

A

  • ABOUT ARCH.SU
  • ADMINSTRATIVE AND ADMINSTRATIVE WORK
  • ALUMNI ASSOCIATION
  • ALUMNI ASSOCIATION2
  • ALUMNI NEWS
  • ALUMNI WORKS
  • ANTONELLO ALICI
  • ARCHITECTURAL HERITAGE MANAGEMENT AND TOURISM
  • ARCHITECTURE
  • AWARDS
Back to top

B

  • BACHELOR OF ARCHITECTURE (THAI ARCHITECTURE) B.ARCH.
  • BACHELOR OF ARCHITECTURE B.ARCH.
  • BOOKING CLASSROOM
  • BOOKING CLASSROOM
  • BOOKS
Back to top

C

  • CAMPUS LIFE
  • Cart Page
  • Check out Page
  • CONTACT US
  • CONTACT US(Admission)
  • CORAZON CATIBOG -SINHA
Back to top

D

  • DEPARTMENT OF ARCHITECTURE
  • DEPARTMENT OF ARCHITECTURE TECHNIC
  • DEPARTMENT OF THAI ARCHITECTURE
  • DEPARTMENT OF URBAN DESIGN & PLANNING
  • Disclaimer
  • DOCTOR OF PHILOSOPHY (ARCHITECTURE)
  • DOCTOR OF PHILOSOPHY (HISTORY OF ARCHITECTURE)
  • DOCTOR OF PHILOSOPHY (ARCHITECTURAL HERITAGE MANAGEMENT AND TOURISM)
  • DOCTOR OF PHILOSOPHY (VERNACULAR ARCHITECTURE)
  • DONATE
  • Donation
  • Donation
  • DOWNLOAD – เอกสารสำหรับนักศึกษาใหม่
Back to top

E

  • EDUCATIONAL SERVICE SECTION
  • EVENTS
  • EXECUTIVE BOARD
Back to top

F

  • FAQ
  • FINANCE AND PROCUREMENT WORK
Back to top

G

  • GRAD STUDENT’S WORKS
  • GUEST’S BLOG
Back to top

H

  • HALL OF FAME
  • Home
  • HOW TO APPLY – GRAD
  • HOW TO APPLY – UNDERGRAD
Back to top

J

  • JOIN THE MAILING LIST
Back to top

K

  • KEN TAYLOR
Back to top

L

  • LANDSCAPE
  • LECTURER’S BLOG
Back to top

M

  • MASTER OF ARCHITECTURE (THAI ARCHITECTURE)
  • MASTER OF ARCHITECTURE (ARCHITECTURE) M.ARCH. (ARCHITECTURE)
  • MASTER OF ARCHITECTURE (URBAN DESIGN)
  • MASTER OF ARTS (HISTORY OF ARCHITECTURE)
  • MASTER OF ARTS (VERNACULAR ARCHITECTURE)
  • MASTER OF ARTS (ARCHITECTURAL HERITAGE MANAGEMENT AND TOURISM)
  • MASTER OF LANDSCAPE ARCHITECTURE
  • MASTER OF SCIENCE (COMPUTER-AIDED ARCHITECTURAL DESIGN)
  • MASTER OF SCIENCE (CONSTRUCTION PROJECT MANAGEMENT)
  • MASTER OF URBAN AND ENVIRONMENTAL PLANNING
Back to top

N

  • NEWS
Back to top

P

  • PH.D STUDENT’S WORKS
  • POLLADACH THEERAPAPPISIT
  • Privacy
  • PROGRAMS2
  • Publications
Back to top

R

  • Research
  • RESOURCES
  • RUSSELL STAIFF
Back to top

S

  • SCHOLARSHIP-FUNDS
  • SHORT COURSES – CAD
  • SHORT COURSES – SURE
  • Single product
  • SOUVENIRS
  • STAFF
  • STUDENT’S BLOG
Back to top

T

  • Terms and Conditions
  • test
  • THAI ARCHITECTURE
  • Thank you
  • TUITION
Back to top

U

  • UNDERGRAD STUDENT’S WORK
Back to top

V

  • VIRTUAL CAMPUS
  • VISITING LECTURERS
Back to top

W

  • What is a Thesis ?
  • WILLIAM RYAN CHAPMAN
  • WORKS
Back to top

#

  • 7 Steps ปัง ฝึกงานเป๊ะ
  • กระเป๋าผ้า 1
  • กระเป๋าผ้า 2
  • กระเป๋าผ้า 3
  • กัตติกา กิตติประสาร
  • การศึกษาที่อยู่อาศัยขนาดจำกัดในเมือง : กรณีศึกษา ตึกแถวชุมชนริมคลองโอ่งอ่าง
  • การศึกษาภูมิปัญญาการเข้าไม้ “เถรอดเพล” เพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
  • การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะที่ปรากฏผ่านเรือนพื้นถิ่นมลายู ระหว่างกรณีศึกษาภาคใต้ของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
  • กำธร กุลชล
  • ขวัญชัย โรจนกนันท์
  • จรัญพัฒน์ ภูวนันท์
  • จีรศักดิ์ เกื้อสมบัติ
  • ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
  • ชาญวิทย์ สรรพศิริ
  • ชาญวิทย์ สุขพร
  • ชาตรี ประกิตนนทการ
  • ญาดา สุคนธพันธุ์
  • ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์
  • ณรงค์ โอถาวร
  • ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์
  • ดรุณี มงคลสวัสดิ์
  • ตะวัน วีระกุล
  • ต้นข้าว ปาณินท์
  • ทยากร จารุชัยมนตรี
  • ทิพย์ณัชชา ไตรเวทย์วรกุล
  • ธนะ จีระพิวัฒน์
  • ธนาคาร โมกขะสมิต
  • ธารา จำเนียรดำรงการ
  • ธาริณี รามสูต
  • นนท์ คุณค้ำชู
  • นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ
  • นวีภาพ ทักษยศ
  • นันทพล จั่นเงิน
  • บั๊ม ประกิจ กัณหา และ เติ้ล เผดิมเกียรติ สุขกันต์
  • บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์
  • บุณยกร วชิระเธียรชัย
  • บูชา “พระพิฆเนศวร์”
  • บูชา “พระพิฆเนศวร์”
  • ปณิตา วงศ์มหาดเล็ก
  • ประติมา นิ่มเสมอ
  • ปรีชญา มหัทธนทวี
  • ปองพล ยาศรี
  • ผลงานนักศึกษา : ปีการศึกษา 2561 ภาคต้น | ชั้นปีที่ 1
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 1
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 2
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 3
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 4: PD1-Creative Building
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 4: PD2-Long Span
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 4: PD3-High Rise
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 4: PD4-Master Planing
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2559: ชั้นปีที่ 5
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2560: ชั้นปีที่ 1
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2560: ชั้นปีที่ 2
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2560: ชั้นปีที่ 3
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2561 ภาคต้น | ชั้นปีที่ 3
  • ผลงานนักศึกษา ปีการศึกษา 2561 ภาคปลาย | ชั้นปีที่ 1
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : INTEGRATION OF ARCHITECTURE ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : การฟื้นฟูระบบนิเวชผ่านสถาปัตยกรรมเมือง ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : การศึกษาหารูปแบบการแทรกซึมทาง ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ชานชรา ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ที่พักอาศัยเพื่อครอบครัวขยาย 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ท่าเรือและศูนย์การเรียนรู้มีนบุรี ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ท่าเสารีสอร์ท ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และผจญภัย ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ธรรมสถานคนเมือง ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ธาราบำบัดรีสอร์ท ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ปีการศึกษา 2561
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : พิพิธภัณฑ์โลกอิสลาม ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : พื้นที่สาธารณะริมชายฝั่งทะเล ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : พุทธ ปาฏิหาริย์ การเรียนรู้ ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : พุทธมหาวิหารวัดท่าหลวง 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : พุทธสถาน หอพระแก้ว เชียงราย ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : วัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : วิกันดา กิจวิวัฒนกุล ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์นกชายเลนและนา ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ศูนย์ส่งเสริมและบ้านพักนักกีฬาอีสปอร์ต ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ศูนย์อนุรักษ์ต้นน้ำและหญ้าแฝก อ.ทองผาภูมิ ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : ศูนย์อนุรักษ์เเละเผยเเพร่วัฒนธรรมลำปาง ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : สถาปัตยกรรมฝังตึกแถว ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : สถาปัตยกรรมหลากที่ตั้ง ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : สถาปัตยกรรมใหม่ในวิถีเดิม ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : สนามกีฬาฟุตบอลแห่งชาติ ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : อสุภสถาน ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : อินทรียสถานเพื่อการฟื้นฟูชราชน จันทบุรี ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ : อุทยานอนุสรณ์สถานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปีการศึกษา 2560
  • ผลงานวิทยานิพนธ์ Mo-chit Transition ปีการศึกษา 2560
  • ผะเตี๊ยะฮ์-เลอ-ตึก | สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนเสาสูงในลุ่มน้ำโตนเลสาบ หมู่บ้านกำปงพลก ประเทศกัมพูชา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญชัย โรจนกนันท์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี มงคลสวัสดิ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทยากร จารุชัยมนตรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิบูลย์ จินาวัฒน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นนท์ คุณค้ำชู
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิบูลย์ จินาวัฒน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปณิตา วงศ์มหาดเล็ก
  • พงศธร เวสสบุตร
  • พบสุข ทัดทอง
  • พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล
  • พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์
  • พันธุดา พุฒิไพโรจน์
  • พินัย สิริเกียรติกุล
  • พิบูลย์ จินาวัฒน์
  • พิมลศิริ ประจงสาร
  • พิเชฐ ธิถา
  • พีรณัฏฐ์ อุไรรัตน์
  • พีรยา บุญประสงค์
  • พีระพัฒน์ สำราญ
  • พีรียา บุญชัยพฤกษ์
  • ภัทรพล เวทยสุภรณ์
  • ภากร มหพันธ์
  • มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา
  • มาลินี ศรีสุวรรณ
  • มูเต็คลู : เพราะถึงสีจะมงคล แต่งานต้องมงมาก
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชญา มหัทธนทวี
  • รองศาสตราจารย์ ดร. รุจิโรจน์ อนามบุตร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว ปาณินท์
  • รองศาสตราจารย์ วิเชษฏ์ สุวิสิทฐ์
  • รุจิโรจน์ อนามบุตร
  • ฤทัย ใจจงรัก
  • วนิดา พึ่งสุนทร
  • วสุ วิรัชศิลป์
  • วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมไทย – ไทยอย่างไร
  • วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสถาปัตยกรรม สาขาแนวคิด ปีการศึกษา 2560
  • วิล์ลญา สงค์อิ่ม
  • วิหารพระพุทธรูป สถาปัตยกรรมเปรียบเทียบ ไทย เมียนมา และศรีลังกา
  • วิเชษฏ์ สุวิสิทฐ์
  • วีระ อินพันทัง
  • ศราวุธ เปรมใจ
  • ศรินยา โทณสุกุมาร
  • ศาสตราจารย์ จรัญพัฒน์ ภูวนันท์
  • ศาสตราจารย์ ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์
  • ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล
  • ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์ และ ศาสตราจารย์ ดร. วีระ อินพันทัง
  • ศิริวัฒน์ ปัจฉิมะศิริ
  • สญชัย ลบแย้ม
  • สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง กรณีศึกษา วัฒนธรรมย่อยคนคุ้ยขยะและเก็บของเก่า
  • สมคิด จิระทัศนกุล
  • สมชาติ จึงสิริอารักษ์
  • สมุด 1 (ไม่มีเส้น)
  • สมุด 2 (ไม่มีเส้น)
  • สมุด 3 (ไม่มีเส้น)
  • สัทธา ปัญญาแก้ว
  • สิงหนาท แสงสีหนาท
  • สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี
  • สิปปวิชญ์ กำบัง
  • สิริพร ด่านสกุล
  • สิริเดช วังกรานต์
  • สิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์พื้นถิ่นในวัฒนธรรมเกลืออีสาน
  • สุคตยุติ จารุนุช
  • สุพักตรา สุทธสุภา
  • สุพิชชา โตวิวิชญ์
  • สุพิชฌาย์ เมืองศรี
  • องอาจ หุดากร
  • อดิศร ศรีเสาวนันท์
  • อนุวิทย์ เจริญศุภกุล
  • อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 1 : กระบวนการออกแบบ สถาปัตยกรรมไทย
  • อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 2 : องค์ประกอบ “ส่วนฐาน”
  • อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 3 : องค์ประกอบ “ส่วนเรือน”
  • อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 4 : องค์ประกอบ“ส่วนหลังคา”
  • อภิรดี เกษมศุข
  • อาจารย์ ดร. องอาจ หุดากร
  • อาจารย์ ธารา จำเนียรดำรงการ
  • อาจารย์ พงศธร เวสสบุตร
  • อาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทร
  • อุปถัมภ์ รัตนสุภา
  • เกรียงไกร เกิดศิริ
  • เจนยุทธ ล่อใจ
  • เชาว์วัฒน์ กิตติธรกุล
  • เสก สิมารักษ์
  • เสนอ นิลเดช
  • โครงการพัฒนาโปรแกรมเสริมเพื่อช่วยการเขียนแบบ 2 มิติ
  • โชติมา จตุรวงค์
  • ไธพัตย์ ภูชิสส์ชวกรณ์
Back to top